ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่
ลงพิมพ์ในเดลินิวส์ : 13 มกราคม 2563
ดร. รุจิระ บุนนาค
13 มกราคม 2563
Facebook : Rujira Bunnag
Twitter : @RujiraBunnag
ขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2563 นอกจากการที่จะไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบและอวยพรให้กันและกัน ยังมีอีกเรื่องที่คนจำนวนไม่น้อยต่างถามถึง โดยมุ่งหวังจะได้ความกระจ่าง คือ เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นั่นเป็นเพราะพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ได้สร้างความกังวลให้กับคนจำนวนไม่น้อย ยิ่งคนที่มี
ทรัพย์สินมากยิ่งกังวลมาก
แต่แล้ว คำตอบที่ได้กลับไม่ชัดเจน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาครัฐไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจอย่างชัดเจนหากรัฐใช้ระยะเวลาการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าในระยะเวลาที่เหมาะสม ความกังขาของประชาชนย่อมลดลง ทั้งบางคนที่เข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจช่วยรัฐประชาสัมพันธ์ได้อีกทางหนึ่ง
คนจำนวนไม่น้อยต่างต้องขวนขวายหาความรู้เอง ผ่านเว็บไซต์ บทความ สอบถามผู้รู้ รวมถึงสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องถึงประเด็นต่างๆ เพราะคาดหวังว่า จะได้รับคำตอบที่ชัดเจน แต่กลับผิดหวัง เพราะเจ้าหน้าที่เองยังไม่เคยปฏิบัติมาก่อน อาจไม่กล้าตอบชัดเจนแบบฟันธง บางครั้งคำตอบที่ได้จึงไม่ชัดเจน
แต่อย่างน้อยมีบางประเด็นที่ประชาชนทราบและเข้าใจบ้าง เช่น เรื่องของบ้านหลังแรก การคำนวณภาษีและการยกเว้นภาษี สำหรับที่ดินเพื่อการเกษตร ที่ดินเพื่อการพาณิชย์
ที่ดินถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่า คนจำนวนไม่น้อยที่เก็บสะสมเงิน เพื่อซื้อที่ดิน เพราะมองว่า
เป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง ที่เมื่อซื้อเก็บไม่เสียหาย การเสื่อมสภาพมีน้อย จึงซื้อเก็บไว้เพื่อเก็งกำไร ยิ่งถ้าความเจริญเข้าไปถึง ยิ่งได้กำไรมาก เว้นแต่ บางคนอาจโชคไม่ดี เพราะถูกเวนคืน ทำให้ได้รับค่าตอบแทนน้อย คนรวยจำนวนไม่น้อย มีกำลังทางการเงิน จึงสามารถซื้อที่ดินเก็บไว้เป็นจำนวนมาก
การมีที่ดินเก็บไว้ โดยปล่อยรกร้างว่างเปล่า ไม่ทำประโยชน์ใดๆ ทำให้ไม่เกิดประโยชน์แก่ที่ดินในแง่เศรษฐกิจแต่อย่างใด
รัฐจึงต้องการกระตุ้นให้ผู้ที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดำเนินการให้เกิดประโยชน์ดีกว่าปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า รัฐจึงพิจารณาและเห็นว่า ควรจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เพราะ
กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน การจัดเก็บภาษีตามกฎหมายสองฉบับนี้ จึงไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ต้องยกเลิกกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษีทรัพย์สินให้มีความทันสมัยเป็นสากลเช่นเดียวกับนานาประเทศและแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษีเดิม
ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ 2562 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจจัดเก็บภาษีจากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และตามพ.ร.บ. นี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หมายถึง เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง แต่ไม่หมายความรวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ภาษีที่จัดเก็บได้ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ดังนั้น ภาษีที่จัดเก็บ จะช่วยให้ท้องถิ่น มีงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความเจริญในระยะยาว
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ (1) ที่ดินเพื่อการเกษตร (2) ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย (3) ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ และ(4) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ผู้เสียภาษี คือ (1) เจ้าของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง (2) เจ้าของห้องชุด และ (3) ผู้ครอบครอง
ทรัพย์สินของรัฐ (ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง)
สำหรับที่ดินเพื่อการเกษตรนั้น 3 ปีแรก