การหาเสียงกับเศรษฐกิจ
ลงพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ : 26 กุมภาพันธ์ 2562
26 กุมภาพันธ์ 2562
Facebook : Rujira Bunnag
Twitter: @RujiraBunnag
ประเทศไทยเข้าสู่บรรยากาศของการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นับว่า มีบรรยากาศที่คึกคัก น่าสนใจและชวนติดตามมาก บรรดาพรรคการเมืองต่างนำเสนอนโยบายในการหาเสียงเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือก
ประชาชนชาวไทยได้ว่างเว้นจากการเลือกตั้งมานานเป็นเวลา 7 ปีเศษ นับจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
แม้จะได้มีการเลือกตั้งในวันที่2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภา กำหนดให้เลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวกัน จึงไม่ถือว่า ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยชอบเมื่อปีพ.ศ. 2557
เมื่อใกล้จะมีการเลือกตั้งเศรษฐกิจจะเริ่มขับเคลื่อน อย่างน้อยที่สุดได้มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ใบปลิว แผ่นป้ายหาเสียง การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ตามสื่อประเภทต่างๆ การเลี้ยงรับรองผู้คน แม้จะเป็นเงินจำนวนที่ ไม่น้อย แต่ไม่ถือว่า มากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจทั้งประเทศ
เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งอย่างเห็นได้ชัดเจนที่สุดได้แก่ นโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองต่างๆ ที่นำเสนอให้ประชาชนได้พิจารณาและตัดสินใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณของประเทศไทยประจำปีพ.ศ. 2562 จะเห็นว่า เป็นจำนวนเงินสูงถึง 3 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 2.26 ล้านล้านบาท รายจ่ายลงทุน 660,000 ล้านบาท รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 78,200 ล้านบาท รายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง (ไม่มีการตั้งงบประมาณไว้)
ได้ตั้งประมาณการรายได้ไว้2.55 ล้านล้านบาท และตั้งวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลไว้ที่ 4.5 แสนล้านบาท
กระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงที่สุดสามอันดับแรกคือกระทรวงศึกษาธิการ 489,000 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย 373,000 ล้านบาท และกระทรวงการคลัง 242,000 ล้านบาท
บรรดาพรรคการเมืองต่างพยายามเสนอนโยบายให้เป็นที่สนใจและถูกใจประชาชน โดยเฉพาะนโยบายทางด้านเศรษฐกิจและสวัสดิการ
บางพรรคพยายามเน้นในเรื่องเงินสวัสดิการที่จะให้ช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้สูงอายุโดยกำหนดจำนวนเงินที่แน่นอน รวมทั้งสตรีที่คลอดบุตร ซึ่งนับว่า เป็นที่น่าสนใจในระดับหนึ่ง
บางพรรคได้เสนอนโยบายที่จะให้สวัสดิการแก่ประชาชนทุกคนเท่าเทียมกันแบบเดียวกับข้าราชการซึ่งนับว่า เป็นเรื่องที่ถูกใจประชาชน แต่ได้รับการท้วงติงว่า จะสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร
การเสนอนโยบายต่างๆเพื่อให้เป็นที่ถูกใจประชาชนอาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากกว่าอยู่ตรงที่ว่า จะสามารถจัดหาเงินจำนวนมากมาดำเนินการตามนโยบายได้อย่างไรและให้เป็นจริงได้
นักวิชาการบางท่านได้แสดงความเป็นห่วงใยว่าประเทศไทยมีความสามารถที่จะจัดงบประมาณเพื่อเป็นสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่างๆ ตามนโยบายที่หลายพรรคการเมืองนำเสนอเป็นจำนวนเงินสูงสุดได้ประมาณ แค่ 100,000 ล้านบาทเท่านั้น หากจะทำตามนโยบายที่นำเสนอกันแบบครบถ้วนให้สวัสดิการเท่าเทียมกันทุกคนประเทศไทยไม่มีเงินในหน้าตักมากพอที่จะใช้จ่ายได้ถึงขนาดนั้น เพราะไม่มีรายรับมากพอนั่นเอง
ประเทศไทยไม่อยู่ในภาวะที่มีความพร้อมเหมือนอย่างประเทศทางยุโรปที่เป็นรัฐสวัสดิการและสามารถจัดเงินเป็นสวัสดิการให้กับประชาชนเป็นจำนวนสูงมากในทุกด้าน อย่างประเทศฟินแลนด์ เพราะเศรษฐกิจของประเทศฟินแลนด์และประเทศไทยแตกต่างกันหลาย 10 เท่า รวมทั้งรายรับจากการจัดเก็บภาษีของประเทศที่แตกต่างกันมาก
เมื่อพิจารณาถึงวิธีการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองในสมัยก่อนกับปัจจุบันเห็นว่ามีความแตกต่างกัน ในสมัยก่อนจะใช้คำพูดที่เป็นในลักษณะรูปธรรมไม่ชัดเจน เช่น จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น แต่ไม่ได้กล่าวว่า จะทำอย่างไร โดยวิธีไหน
ในยุคปัจจุบันถือว่าการเสนอนโยบายมีความชัดเจนมากขึ้นอีกหนึ่งระดับ เพราะจะกล่าวว่าจะทำอะไรอย่างไร เช่น จะจัดเงินให้ใคร เป็นจำนวนเท่าไหร่ แต่ยังถือว่า กล่าวไม่หมด เพราะแม้จะระบุอย่างกว้างๆ ว่า จะลดงบประมาณในบางเรื่อง เพื่อมาเพิ่มในการให้สวัสดิการ แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่า จะทำอย่างไรให้พอกับเงินที่ต้องจัดสวัสดิการนั้น
หลายพรรคการเมืองได้เขียนนโยบายหาเสียงทางด้านเศรษฐกิจไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง แต่มีข้อสังเกตว่า บางพรรคยังใช้ข้อความที่ยาวและเป็นนามธรรม ประชาชนคนทั่วไปอ่านแล้วยังเห็นภาพไม่ชัดเจนว่า จะทำอย่างไร
ในขณะเดียวกันหลายพรรคการเมืองเมื่อกล่าวถึงนโยบายทางด้านเศรษฐกิจไว้ในเว็บไซต์ และเมื่อปราศรัยหาเสียงด้วยวาจา จะไม่ตรงกันเท่าที่ควร
ดังนั้นในยุคใหม่นี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง พรรคการเมืองแต่ละพรรคควรเขียนนโยบายในหลายด้าน รวมทั้งด้านเศรษฐกิจไว้อย่างชัดเจนในเว็บไซต์ของพรรค และเมื่อบุคคลสำคัญของพรรคได้นำเสนอนโยบายทางด้านเศรษฐกิจด้วยวาจา สมควรที่จะแก้ไข นโยบายเศรษฐกิจที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ให้ตรงตามกันด้วย
นอกจากนี้ควรนำเสนอให้ชัดเจนด้วยว่าจะจัดหางบประมาณมาจากไหน เพื่อให้สามารถทำได้ตามนโยบาย มิฉะนั้นแล้วจะเป็นการเสนอนโยบายเศรษฐกิจแบบชั่วครั้งชั่วคราว ที่ไม่ได้หวังผลจะให้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศอย่างแท้จริงหรืออย่างที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเสนอแบบ ให้สนุกเอามันเท่านั้นเอง
ในส่วนของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งย่อมต้องมีความรับผิดชอบต่อการใช้สิทธิ์เลือกตั้งพรรคการเมือง เพราะหากตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง เพียงเพราะนโยบายที่โดนใจ และอาจปฏิบัติได้ยาก อาจได้รับผลกระทบถือได้ว่า ประชาชนผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งถูกลงโทษตามระบอบประชาธิปไตย เพราะตัดสินใจผิด ซึ่งถือเป็นสีสันของประชาธิปไตยอีกแบบหนึ่ง
สิ่งที่เกิดขึ้นคือสีสันของประชาธิปไตย ที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองของตน
หากตัดสินใจถูกต้องประเทศชาติจะก้าวสู่ความเจริญด้านเศรษฐกิจและทุกๆด้าน
หากตัดสินใจผิดต้องยอมทนรับผลกระทบจากเศรษฐกิจ และทุกๆด้าน จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่อาจมีขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลันและคาดไม่ถึง
ประเทศไทยเข้าสู่บรรยากาศของการเลือกตั้ง
ประชาชนชาวไทยได้ว่างเว้นจากการเลือกตั้ง
แม้จะได้มีการเลือกตั้งในวันที่
เมื่อใกล้จะมีการเลือกตั้ง
เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งอย่างเห็นได้ชัดเจนที่สุด
เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณของประเทศไทยประจำปี
ได้ตั้งประมาณการรายได้ไว้
กระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงที่สุดสามอันดับแรกคือ
บรรดาพรรคการเมืองต่างพยายามเสนอนโยบายให้เป็นที่สนใจ
บางพรรคพยายามเน้นในเรื่องเงินสวัสดิการ
บางพรรคได้เสนอนโยบายที่จะให้สวัสดิการแก่ประชาชนทุกคนเท่าเทียมกันแบบเดียวกับข้าราชการ
การเสนอนโยบายต่างๆ
นักวิชาการบางท่านได้แสดงความเป็นห่วงใยว่า
ประเทศไทยไม่อยู่ในภาวะที่มีความพร้อมเหมือนอย่างประเทศทางยุโรป
เมื่อพิจารณาถึงวิธีการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองในสมัยก่อนกับปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบันถือว่า
หลายพรรคการเมือง
ในขณะเดียวกันหลายพรรคการเมือง
ดังนั้นในยุคใหม่นี้
นอกจากนี้ควรนำเสนอให้ชัดเจนด้วยว่า
ในส่วนของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
หากตัดสินใจถูกต้องประเทศชาติจะก้าวสู่ความเจริญด้านเศรษฐกิจ
หากตัดสินใจผิด
จำนวนการอ่าน 251 ครั้ง